การเปลี่ยนแปลงสังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ก็ได้มีการพัฒนางานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น สังเกตได้จากการนำคอมพิวเตอร์
ส่วนบุคคลมาใช้ในสำนักงาน การจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ประกอบด้วยชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิคส์ เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการแข่งขันด้านธุรกิจและการขยายตัวของบริษัท ส่งผลต่อการให้บริการขององค์กรและหน่วยงาน และมีผลต่อการประกอบกิจการในแต่ละวัน
การปฎิวัติอุตสาหกรรมยุคแรก เริ่มจากการใช้เครื่องจักรกลแทนการทำงานด้วยมือ พลังงานที่ใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรมาจากพลังงานน้ำ พลังงานไอน้ำ และเปลี่ยนเป็นพลังงานจากน้ำมัน มีการขับเคลื่อนเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า
การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้เกิดขึ้นอีก โดยการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานจาก
ทีละขั้นตอนมาเป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ การทำงานเหล่านี้ล้วนแต่อาศัยระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มใช้งานในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้เอง โดยในปี พ.ศ. 2507 มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้
ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และในขณะนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่แพร่หลายนัก จะมีเพียงการใช้โทรศัพท์เพื่อ
การติดต่อสื่อสารและนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลข้อมูล งานด้านสารสนเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นงานภายในสำนักงาน
ที่ยังไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยงานเท่าใดนัก
งานด้านสารสนเทศมีแนวโน้มขยายตัวค่อนข้างสดใส เพราะเทคโนโลยีด้านนี้ได้รับการส่งเสริมสนันสนุน อย่างเต็มที่
มีการวิจัยและพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา
เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบสารสนเทศที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ คือ เทคโนโลยีสื่อผสม (multimedia)
ซึ่งรวมข้อความ ภาพ เสียงและวีดิทัศน์เข้ามาผสมกัน เทคโนโลยีนี้กำลังได้รับการพัฒนาและเป็นที่นิยมอย่างสูง
ในอนาคตเทคโนโลยีแบบสื่อผสมจะช่วยเสริมและสนับสนุนงานด้านสารสนเทศให้ก้าวหน้าต่อไป เป็นที่คาดหมายว่า
อัตราการเติมโตของผู้ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีมากขึ้น
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศค่อย ๆ กลายมาเป็นระบบรวม โดยใช้คอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ทำงานพร้อมกันได้
หลาย ๆ อย่าง นอกจากใช้ประมวลผลข้อมูลด้านบัญชีแล้ว ยังใช้งานจัดเตรียมเอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด ใช้รับส่งข้อความหรือจดหมายกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งอาจอยู่คนละซีกโลก ในลักษณะที่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ e-mail) สำหรับเครื่องถ่ายเอกสาร นอกจากจะใช้ถ่ายสำเนาเอกสารตามปกติแล้ว อาจเพิ่มขีดความสามารถให้ใช้งานเป็นเครื่องพิมพ์หรือรับส่งโทรสารได้อีกด้วย
การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ด้านต่างๆ ดังนี้ การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้าน ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ด้านข้อมูลและการติดต่อสื่อสาร ผู้ใช้จึงต้องปรับตัวยอมรับและเรียนรู้ เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ
โดยเฉพาะข้อมูลและ การติดต่อสื่อสาร (communication) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ หากการ
ดำเนินงานธุรกิจใช้ข้อมูลซึ่งมีการบันทึกใส่กระดาษและเก็บรวบรวมใส่แฟ้ม การเรียกค้นและสรุปผลข้อมูลย่อมทำได้ช้า และเกิดความผิดพลาดได้ง่ายกว่าการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้
ทำงานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ถูกต้องขึ้น และที่สำคัญช่วยให้สามารถตัดสินใจดำเนินงานได้เร็ว ผู้ใช้จึงต้องปรับตัวยอมรับและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ
หลาย ๆ อย่าง นอกจากใช้ประมวลผลข้อมูลด้านบัญชีแล้ว ยังใช้งานจัดเตรียมเอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด ใช้รับส่งข้อความหรือจดหมายกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งอาจอยู่คนละซีกโลก ในลักษณะที่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ e-mail) สำหรับเครื่องถ่ายเอกสาร นอกจากจะใช้ถ่ายสำเนาเอกสารตามปกติแล้ว อาจเพิ่มขีดความสามารถให้ใช้งานเป็นเครื่องพิมพ์หรือรับส่งโทรสารได้อีกด้วย
การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ด้านต่างๆ ดังนี้ การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้าน ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ด้านข้อมูลและการติดต่อสื่อสาร ผู้ใช้จึงต้องปรับตัวยอมรับและเรียนรู้ เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ
โดยเฉพาะข้อมูลและ การติดต่อสื่อสาร (communication) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ หากการ
ดำเนินงานธุรกิจใช้ข้อมูลซึ่งมีการบันทึกใส่กระดาษและเก็บรวบรวมใส่แฟ้ม การเรียกค้นและสรุปผลข้อมูลย่อมทำได้ช้า และเกิดความผิดพลาดได้ง่ายกว่าการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้
ทำงานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ถูกต้องขึ้น และที่สำคัญช่วยให้สามารถตัดสินใจดำเนินงานได้เร็ว ผู้ใช้จึงต้องปรับตัวยอมรับและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ
ที่มา : http://www.school.net.th/library/หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ของ สสวท.
สถานการณ์ตลาดhardwareในประเทศไทย
จากผลการสำรวจมูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ในปี 2552 พบว่า ตลาด คอมพิวเตอรฮาร์ดแวร์ปี 2552 มีมูลค่าตลาดรวมทั้งสิ้น 80,869 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการ เติบโตร้อยละ 2.5 (เป็นการคำนวณเทียบจากมูลค่าตลาดคอมพิวเตอรฮาร์ดแวร์เท่ากับ 77,619 ล้านบาท ซึ่งไมรวมมูลค่าตลาด Projector และ UPS เนื่องจากเปนการสารวจข้อมูล ปีแรก) ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณการจาหน่ายสูงที่สดในตลาดคอมพิวเตอรฮาร์ดแวร์คือ กลุ่มเครื่องคอมพิวเตอรส่วนบคคล (Personal Computer: PC) ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ เดสก์ทอป เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค และเครื่องคอมพิวเตอร์เนตบุ๊ค ซึ่งมีมูลค่ารวมกัน ทั้งสิ้น 51,824 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 64 ของมูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ รองลง มาคือ กลุ่ม System, Printer, External Data Storage และ Monitor ตามลำดับ สำหรับในปี 2553 ประมาณการว่าตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์จะมีมูลค่าทั้งสิ้น 88,040 ล้านบาท หรือคิด เป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 8.9 ซึ่งเปนอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างสูงแม้ว่าราคาต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์เกือบทุกประเภทจะมี แนวโน้มลดต่ำลงทุกปี แต่ในปี 2552 พบว่า ผลิตภัณฑ์หลายประเภทสามารถรักษาการ เติบโตทางด้านมูลค่าไว้ได้อันเนื่องมาจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค และจอภาพแอลซีดี เป็นต้น ในทางกลับกันมีผลิตภัณฑ์บางประเภทที่มีมูลค่าตลาด หดตวลงเนื่องมาจากปริมาณการขายลดลง เชน เครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป และเครื่อง พรินเตอร์ประเภท Dot Matrix เป็นต้น ดังนั้นการวิเคราะหการเติบโตของตลาดคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์จึงต้องพิจารณาในเชิงปริมาณการขาย (Unit) ควบคู่กับมูลค่าการขาย (Value) เพื่อ ใหเกิดความชัดเจนมากที่สุด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนในตลาดคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ปี 2552 ได้แก่ การเติบโตในเชิงปริมาณของเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค (Notebook) เครื่องคอมพิวเตอร์เน็ตบ๊ค (Netbook) จอภาพแอลซีดี (LCD Monitor) เครื่องพรินเตอร์ ประเภทออลอินวัน (All in One Printer) และกล้องดิจิทอล (Digital Camera) รวมไปถึงการ เติบโตในเชิงมูลค่าของ External Hard Disk ขณะเดียวกันเครื่องพรินเตอร์ประเภท Single Inkjet และ Consumer PDA มีปริมาณการขายหดตวลง
อ้างอิงจาก
http://www.nsiim.sipa.or.th/nsiim/g-mkohw09.do;jsessionid=B9190B1417DAC53015720659BA648337
สถานการณ์ตลาดSoftwareในประเทศไทย
สถานภาพซอฟแวร์ไทยในประเทศไทยแนวโน้มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยปี 2553 จะเติบโตไม่ต่างจากตลาดในภูมิภาคเอเชียที่คาดว่าจะขยายตัวในระดับ 4.4% โดยปีที่ผ่านมา มูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ไทยอยู่ที่กว่า 6.6 หมื่นล้านบาท แต่เนื่องจากเกิดวิกฤตทางการเมืองที่ผ่านมา ส่งผลให้ยอดมีผลกระทบเล็กน้อย โดยมีการจัดงาน commart 2010 ขึ้นมาเพื่อหวังให้ผลตามเป้าที่วางไว้ ส่วนปีนี้ คาดว่าตลาดซอฟต์แวร์ไทยจะคึกคักมากขึ้นในแง่ของนักพัฒนาที่เริ่มมีประสบการณ์ และเรียนรู้การพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สามารถตอบโจทย์กับความต้องการของธุรกิจปัจจุบันได้ ปีนี้มีบริษัทคนไทยที่ได้รับมาตรฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกมากขึ้น ขณะเดียวกัน ไทยยังได้รับการจัดอันดับจากการ์ทเนอร์ ให้เป็นแหล่งเอาท์ซอร์สใน 30 อันดับแรกของโลกแล้ว อย่างไรก็ตาม ปีนี้จะยังเป็นปีที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์จะต้องคิดให้หนักในการตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจ เพราะคาดว่าองค์กรธุรกิจต่างๆ จะยังคงลดต้นทุนการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง จำนวนการจัดซื้อฮาร์ดแวร์จะน้อยลง แต่จะหันมาพิจารณาซอฟต์แวร์ หรือแอพพลิเคชั่นที่สามารถตอบโจทย์การทำงานได้คุ้มค่าที่สุด
ทั้งนี้ แนวโน้มของซอฟต์แวร์ประเภทซีอาร์เอ็มที่เน้นฟังก์ชันรองรับการทำงานแบบโซเชียล เน็ตเวิร์คกิ้งในปีนี้จะได้รับความนิยมแพร่หลายขึ้น เพราะกระแสของเว็บไซต์เครือข่ายสังคม กำลังได้รับความนิยมในด้านของเครื่องมือทำการตลาดรูปแบบใหม่ ซึ่งคาดว่าตลาดซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มรวมกับอีอาร์พี จะมีมูลค่าในไทยไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ไทยกว่า 6 หมื่นล้านบาท เป็นซอฟต์แวร์คนไทยราว 30% หรือประมาณ 8,000 ล้านเท่านั้น และจำนวนนี้เป็นซอฟต์แวร์ไทยที่ส่งออกราว 4,500 ล้านบาท ขณะที่ตลาดซอฟต์แวร์โลกปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท
การสำรวจตลาดคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ในปี 2552 แบ่งตลาดซอฟต์แวร์ออกเป็น 4 กลุ่มหลักได้แก่
• Enterprise Software
• Mobile Application Software
• Embedded Software
• ซอฟต์แวร์กลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ได้จัดอยู่ใน 3 กลุ่มข้างต้น เช่น ซอฟต์แวร์เกม(ที่ไม่ได้อยู่บนโทรศัพท์เคลื่อนที่) ซอฟต์แวร์เฉพาะด้านต่างๆ เป็นต้น
โดยภาพรวมมูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ไทยนับตั้งแต่ปี 2549 – 2553 เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 10.6 ต่อปี ในปี
ทั้งนี้ตลาดซอฟต์แวร์ในปี 2552 มีมูลค่ารวม 64,395 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตร้อยละ 2.3 ซึ่งเป็นการเติบโตร้อยละ 2.3 ซึ่งเป็นการเติบโตต่ำกว่าร้อยละ 10 เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี (ตารางที่ 2-1) เมื่อจิพารณาตามประเภทซอฟต์แวร์พบว่า Enterprise Software ยังคงเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงสุดคือ 56,062 ล้านบาท เติบโตจากปี 2551 ร้อยละ 0.9 เป็นการเติบโตต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์ประเภทอื่นๆ รองลงมา ได้แก่ Mobile Application มีมูลค่า 3,069 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 16.3 และ Embedded System Software มีมูลค่า 2,760 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 17.0
สำหรับการประมาณการมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ในปี 2553 คาดว่าตลาดจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยมูลค่า 67,884 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 5.5 โดย Enterprise Software มีมูลค่าสูงสุดคือ 58,071 ล้านบาท ขยายตัวจากปี 2553 ร้อยละ 3.6 รองลงมา ได้แก่ Mobile Application มีมูลค่า 3,720 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 21.2 และ Embedded System Software มีมูลค่า 3,423 ล้านบาท ร้อยละ 24.0
อ้างอิง http://www.nsiim.sipa.or.th/nsiim/g-mkosw09.do
http://neung.kaengkhoi.ac.th/information1/techno1_2.html
http://mba2010.wikidot.com/scribe-book-2-part-2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น