2553-11-12

Case study Wal-Mart

1. How is RFID technology related to Wal-Mart 's business model? How does it benefit supplier?
       เนื่องจาก Wal-Mart มีแนวคิดที่จะใช้ RFID ในการช่วยบรรเทาปัญหาสินค้าขาดสต๊อกในร้านสาขาย่อยของบริษัท โดยเริ่มต้นทำการติดตั้งและใช้ระบบ RFID Tag นี้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ใน 7 ร้านสาขาย่อยที่อยู่ในรัฐเท็กซัส ซึ่ง Wal-Mart คาดหวังว่าเมื่อระบบนี้ประสบความสำเร็จจะทำให้บริษัทสามารถบริหารจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลใน RFID นี้จะถูกรวบรวมและประมวลผลปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ให้บริษัททราบการเดินทางของสินค้าแต่ละรายการจากทุก Supplier ตั้งแต่โกดังที่ท่าเทียบเรือไปจนถึงชั้นวางสินค้าในร้านสาขาย่อย ข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้จะช่วยให้ Wal-Mart ลดปัญหาสินค้าขาดสต๊อก อีกทั้งยังช่วยเพิ่มยอดขายและลดต้นทุนในระยะยาวลงได้
       ส่วนผลประโยชน์ที่ Supplier ของ Wal-Mart ทุกรายจะได้รับหากทำการติดตั้งและเข้าร่วมการใช้ระบบนี้กับบริษัทนั่นก็คือ คำสั่งซื้อและยอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างอัตโนมัติในทันทีที่สินค้าสต๊อกในระบบพร่องลงไป เนื่องจาก Wal-Mart จะแบ่งปันข้อมูลการค้าปลีกให้แก่ Supplier ที่เข้าร่วมผ่านทางโครงข่าย Extranet ของบริษัทโดยตรง ซึ่งจะทำให้ Supplier ทราบทันทีภายใน 30 นาที หลังจากสินค้ารายการนั้นๆมีการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง สิ่งที่ Wal-Mart อนุญาตและยอมรับก็คือ การให้ Supplier ดังกล่าวทำการเติมเต็มสินค้ารายการนั้นๆได้ทันที



2.What management, organization, and technology factors explain why Wal-Mart suppliers had trouble implementing RFID systems?

       หากมองในระยะสั้นแล้วจะเห็นว่า Transaction cost เพิ่มขึ้นซึ่ง Wal-Mart ไม่ได้ร่วมรับผิดชอบกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นแต่ในทางตรงข้ามกับผลักภาระนี้ให้กับ Supplier รับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียว ประกอบกับต้องใช้ระบบนี้ในขณะที่เทคโนโลยี RFID ยังอยู่ในช่วงที่กำลังพัฒนาซึ่งยังไม่สิ้นสุดและสมบูรณ์แบบ ซึ่งอาจหมายความว่า Supplier อาจต้องมีการลงทุนเพิ่มในการปรับปรุงระบบในอนาคตก็เป็นได้ อีกทั้งต้นทุนต่อหน่วยของระบบ RFID ในขณะนั้นก็ยังมีราคาแพงซึ่งอยู่ระหว่าง 25-75 เซ็นต์ต่อชิ้น ยิ่งไปกว่านั้นในสินค้าบางประเภท เช่นของเหลว โลหะ หรือสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้กับทารก ก็มีความอ่อนไหวที่จะนำระบบนี้ไปใช้ เนื่อง RFID ทำงานอยู่บนคลื่นความถี่วิทยุซึ่งสามารถจะถูกดูดซึมและปะปนอยู่บนตัวสินค้าเหล่านี้ได้ซึ่งส่งผลกระทบกับความมั่นใจของผู้บริโภค นั่นหมายความว่าการที่ต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มเข้าไปแก้ปัญหาโดยการใช้ RFID ที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น ซึ่งประสิทธิภาพย่อมแปรผันตรงกับราคาที่จะย้อนกลับมาเป็นต้นทุนของ Supplier แต่ละราย

 

3.What conditions would make adopting RFID more favorable for suppliers?
       1.Wal-Mart ควรมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการติดตั้งและบังคับใช้ระบบ RFID ซึ่งจะใช้วิธีการใดก็ได้เพื่อให้เป็นธุรกิจแบบ Win-Win
       2.ควรเริ่มเมื่อเทคโนโลยี RFID ได้รับการพัฒนาจนถึงจุดที่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคว่าไม่มีผลกระทบใดๆต่อสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงในแง่ของต้นต่อหน่วยให้ลดต่ำลงเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้ามากนัก

4.Should Wal-Mart require all its suppliers to use RFID? Why or why not? Explain your answer.
       หากมองในมุมของผู้สนับสนุนวัตถุดิบหรือสินค้า (Supplier) ให้แก่ Wal-Mart ในระยะยาวก็คงจะเห็นด้วยและสนับสนุนแนวคิดที่จะใช้ RFID แทน Barcode แบบเก่า เนื่องจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังและรวมถึงรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต แต่ถ้ามองในแง่ของผู้บริโภคก็คงไม่เห็นด้วยในขณะนี้จนกว่า Wal-Mart จะมีคำตอบที่เหมาะสมให้กับ 2 คำถามดังต่อไปนี้
       1. ภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการ Implement ระบบ RFID จะถูกรับผิดชอบโดยใคร หรือจะผลักภาระไปให้ผู้บริโภคด้วยการบวกเพิ่มเข้าไปในราคาสินค้า
       2. RFID ทำงานด้วยคลื่นความถี่วิทยุ อยากทราบว่ามีงานวิจัยอะไรหรือไม่ที่สนับสนุนว่าคลื่นความถี่วิทยุเหล่านั้นไม่มีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค เช่นอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับทารกหรือผู้ป่วยหากประเด็นเหล่านี้ได้รับการชี้แจงคงทำให้ผู้บริโภคปลายน้ำรับรู้และช่วยในการตัดสินใจซื้อสินค้า

2553-10-02

แนวโน้มของเทคโนโลยี hardware และ software

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
            การเปลี่ยนแปลงสังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ก็ได้มีการพัฒนางานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
           ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น สังเกตได้จากการนำคอมพิวเตอร์
ส่วนบุคคลมาใช้ในสำนักงาน การจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ประกอบด้วยชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิคส์ เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการแข่งขันด้านธุรกิจและการขยายตัวของบริษัท ส่งผลต่อการให้บริการขององค์กรและหน่วยงาน และมีผลต่อการประกอบกิจการในแต่ละวัน


 การปฎิวัติอุตสาหกรรมยุคแรก เริ่มจากการใช้เครื่องจักรกลแทนการทำงานด้วยมือ พลังงานที่ใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรมาจากพลังงานน้ำ พลังงานไอน้ำ และเปลี่ยนเป็นพลังงานจากน้ำมัน มีการขับเคลื่อนเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า
                การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้เกิดขึ้นอีก โดยการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานจาก
ทีละขั้นตอนมาเป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ การทำงานเหล่านี้ล้วนแต่อาศัยระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น


เทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มใช้งานในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้เอง โดยในปี พ.ศ. 2507 มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้
ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และในขณะนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่แพร่หลายนัก จะมีเพียงการใช้โทรศัพท์เพื่อ
การติดต่อสื่อสารและนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลข้อมูล งานด้านสารสนเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นงานภายในสำนักงาน
ที่ยังไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยงานเท่าใดนัก
               งานด้านสารสนเทศมีแนวโน้มขยายตัวค่อนข้างสดใส เพราะเทคโนโลยีด้านนี้ได้รับการส่งเสริมสนันสนุน อย่างเต็มที่
มีการวิจัยและพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา 


 เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบสารสนเทศที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ คือ เทคโนโลยีสื่อผสม (multimedia)
ซึ่งรวมข้อความ ภาพ เสียงและวีดิทัศน์เข้ามาผสมกัน เทคโนโลยีนี้กำลังได้รับการพัฒนาและเป็นที่นิยมอย่างสูง
               ในอนาคตเทคโนโลยีแบบสื่อผสมจะช่วยเสริมและสนับสนุนงานด้านสารสนเทศให้ก้าวหน้าต่อไป เป็นที่คาดหมายว่า
อัตราการเติมโตของผู้ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีมากขึ้น

      

แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศค่อย ๆ กลายมาเป็นระบบรวม โดยใช้คอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ทำงานพร้อมกันได้
หลาย ๆ อย่าง นอกจากใช้ประมวลผลข้อมูลด้านบัญชีแล้ว ยังใช้งานจัดเตรียมเอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด ใช้รับส่งข้อความหรือจดหมายกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งอาจอยู่คนละซีกโลก ในลักษณะที่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ e-mail) สำหรับเครื่องถ่ายเอกสาร นอกจากจะใช้ถ่ายสำเนาเอกสารตามปกติแล้ว อาจเพิ่มขีดความสามารถให้ใช้งานเป็นเครื่องพิมพ์หรือรับส่งโทรสารได้อีกด้วย


       การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ด้านต่างๆ ดังนี้
          การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้าน ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ด้านข้อมูลและการติดต่อสื่อสาร ผู้ใช้จึงต้องปรับตัวยอมรับและเรียนรู้ เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ
โดยเฉพาะข้อมูลและ การติดต่อสื่อสาร (communication) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ หากการ
ดำเนินงานธุรกิจใช้ข้อมูลซึ่งมีการบันทึกใส่กระดาษและเก็บรวบรวมใส่แฟ้ม การเรียกค้นและสรุปผลข้อมูลย่อมทำได้ช้า และเกิดความผิดพลาดได้ง่ายกว่าการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้
ทำงานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ถูกต้องขึ้น และที่สำคัญช่วยให้สามารถตัดสินใจดำเนินงานได้เร็ว
  ผู้ใช้จึงต้องปรับตัวยอมรับและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ


ที่มา : http://www.school.net.th/library/หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ของ สสวท.


สถานการณ์ตลาดhardwareในประเทศไทย

จากผลการสำรวจมูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ในปี 2552 พบว่า ตลาด คอมพิวเตอรฮาร์ดแวร์ปี 2552 มีมูลค่าตลาดรวมทั้งสิ้น 80,869 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการ เติบโตร้อยละ 2.5 (เป็นการคำนวณเทียบจากมูลค่าตลาดคอมพิวเตอรฮาร์ดแวร์เท่ากับ 77,619 ล้านบาท ซึ่งไมรวมมูลค่าตลาด Projector และ UPS เนื่องจากเปนการสารวจข้อมูล ปีแรก) ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณการจาหน่ายสูงที่สดในตลาดคอมพิวเตอรฮาร์ดแวร์คือ กลุ่มเครื่องคอมพิวเตอรส่วนบคคล (Personal Computer: PC) ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ เดสก์ทอป เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค และเครื่องคอมพิวเตอร์เนตบุ๊ค ซึ่งมีมูลค่ารวมกัน ทั้งสิ้น 51,824 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 64 ของมูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ รองลง มาคือ กลุ่ม System, Printer, External Data Storage และ Monitor ตามลำดับ สำหรับในปี 2553 ประมาณการว่าตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์จะมีมูลค่าทั้งสิ้น 88,040 ล้านบาท หรือคิด เป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 8.9 ซึ่งเปนอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างสูง


ในส่วนของปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ในปี 2552 มาจากสถานการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะการชุมนุมทางการเมืองสร้างความไม่มั่นใจ ต่อการลงทุนภายในประเทศ รวมไปถึงสภาวะเศรษฐกิจถดถอยต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2551 จนถึงไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 ส่งผลต่อการลดระดับการลงทุนภายในประเทศ การวางงาน ของแรงงาน และการลดการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและภาคเอกชน ทำให้เกิดการชะลอตัว ของการซื้อสินค้าในกลุ่มคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์บางส่วน โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ (Large Scale) การยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิมของภาคธุรกิจ และภาคครัวเรือน ประหยัดการใช้จ่ายทางด้านไอทีที่ไม่จำเป็นมากขึ้น ขณะที่การแข่งขันทางด้านราคาระหว่าง ผู้ประกอบการทำให้สินค้ามีราคาต่อหน่วยลดต่ำลง ส่งผลให้มูล่าตลาดที่ผู้ประกอบการได้รับ หดตัวลง หรือกล่าวได้ว่าผู้ประกอบการต้องจำหน่ายสินค้ามากขึ้นเพื่อรักษาระดับรายได้ของ ตนเอง

แม้ว่าราคาต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์เกือบทุกประเภทจะมี แนวโน้มลดต่ำลงทุกปี แต่ในปี 2552 พบว่า ผลิตภัณฑ์หลายประเภทสามารถรักษาการ เติบโตทางด้านมูลค่าไว้ได้อันเนื่องมาจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค และจอภาพแอลซีดี เป็นต้น ในทางกลับกันมีผลิตภัณฑ์บางประเภทที่มีมูลค่าตลาด หดตวลงเนื่องมาจากปริมาณการขายลดลง เชน เครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป และเครื่อง พรินเตอร์ประเภท Dot Matrix เป็นต้น ดังนั้นการวิเคราะหการเติบโตของตลาดคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์จึงต้องพิจารณาในเชิงปริมาณการขาย (Unit) ควบคู่กับมูลค่าการขาย (Value) เพื่อ ใหเกิดความชัดเจนมากที่สุด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนในตลาดคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ปี 2552 ได้แก่ การเติบโตในเชิงปริมาณของเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค (Notebook) เครื่องคอมพิวเตอร์เน็ตบ๊ค (Netbook) จอภาพแอลซีดี (LCD Monitor) เครื่องพรินเตอร์ ประเภทออลอินวัน (All in One Printer) และกล้องดิจิทอล (Digital Camera) รวมไปถึงการ เติบโตในเชิงมูลค่าของ External Hard Disk ขณะเดียวกันเครื่องพรินเตอร์ประเภท Single Inkjet และ Consumer PDA มีปริมาณการขายหดตวลง
อ้างอิงจาก
 http://www.nsiim.sipa.or.th/nsiim/g-mkohw09.do;jsessionid=B9190B1417DAC53015720659BA648337

สถานการณ์ตลาดSoftwareในประเทศไทย

สถานภาพซอฟแวร์ไทยในประเทศไทย
แนวโน้มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยปี 2553 จะเติบโตไม่ต่างจากตลาดในภูมิภาคเอเชียที่คาดว่าจะขยายตัวในระดับ 4.4% โดยปีที่ผ่านมา มูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ไทยอยู่ที่กว่า 6.6 หมื่นล้านบาท แต่เนื่องจากเกิดวิกฤตทางการเมืองที่ผ่านมา ส่งผลให้ยอดมีผลกระทบเล็กน้อย โดยมีการจัดงาน commart 2010 ขึ้นมาเพื่อหวังให้ผลตามเป้าที่วางไว้ ส่วนปีนี้ คาดว่าตลาดซอฟต์แวร์ไทยจะคึกคักมากขึ้นในแง่ของนักพัฒนาที่เริ่มมีประสบการณ์ และเรียนรู้การพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สามารถตอบโจทย์กับความต้องการของธุรกิจปัจจุบันได้ ปีนี้มีบริษัทคนไทยที่ได้รับมาตรฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกมากขึ้น ขณะเดียวกัน ไทยยังได้รับการจัดอันดับจากการ์ทเนอร์ ให้เป็นแหล่งเอาท์ซอร์สใน 30 อันดับแรกของโลกแล้ว อย่างไรก็ตาม ปีนี้จะยังเป็นปีที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์จะต้องคิดให้หนักในการตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจ เพราะคาดว่าองค์กรธุรกิจต่างๆ จะยังคงลดต้นทุนการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง จำนวนการจัดซื้อฮาร์ดแวร์จะน้อยลง แต่จะหันมาพิจารณาซอฟต์แวร์ หรือแอพพลิเคชั่นที่สามารถตอบโจทย์การทำงานได้คุ้มค่าที่สุด
ทั้งนี้ แนวโน้มของซอฟต์แวร์ประเภทซีอาร์เอ็มที่เน้นฟังก์ชันรองรับการทำงานแบบโซเชียล เน็ตเวิร์คกิ้งในปีนี้จะได้รับความนิยมแพร่หลายขึ้น เพราะกระแสของเว็บไซต์เครือข่ายสังคม กำลังได้รับความนิยมในด้านของเครื่องมือทำการตลาดรูปแบบใหม่ ซึ่งคาดว่าตลาดซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มรวมกับอีอาร์พี จะมีมูลค่าในไทยไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ไทยกว่า 6 หมื่นล้านบาท เป็นซอฟต์แวร์คนไทยราว 30% หรือประมาณ 8,000 ล้านเท่านั้น และจำนวนนี้เป็นซอฟต์แวร์ไทยที่ส่งออกราว 4,500 ล้านบาท ขณะที่ตลาดซอฟต์แวร์โลกปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท
การสำรวจตลาดคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ในปี 2552 แบ่งตลาดซอฟต์แวร์ออกเป็น 4 กลุ่มหลักได้แก่
• Enterprise Software
• Mobile Application Software
• Embedded Software
• ซอฟต์แวร์กลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ได้จัดอยู่ใน 3 กลุ่มข้างต้น เช่น ซอฟต์แวร์เกม(ที่ไม่ได้อยู่บนโทรศัพท์เคลื่อนที่) ซอฟต์แวร์เฉพาะด้านต่างๆ เป็นต้น
โดยภาพรวมมูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ไทยนับตั้งแต่ปี 2549 – 2553 เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 10.6 ต่อปี ในปี
ทั้งนี้ตลาดซอฟต์แวร์ในปี 2552 มีมูลค่ารวม 64,395 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตร้อยละ 2.3 ซึ่งเป็นการเติบโตร้อยละ 2.3 ซึ่งเป็นการเติบโตต่ำกว่าร้อยละ 10 เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี (ตารางที่ 2-1) เมื่อจิพารณาตามประเภทซอฟต์แวร์พบว่า Enterprise Software ยังคงเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงสุดคือ 56,062 ล้านบาท เติบโตจากปี 2551 ร้อยละ 0.9 เป็นการเติบโตต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์ประเภทอื่นๆ รองลงมา ได้แก่ Mobile Application มีมูลค่า 3,069 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 16.3 และ Embedded System Software มีมูลค่า 2,760 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 17.0
สำหรับการประมาณการมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ในปี 2553 คาดว่าตลาดจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยมูลค่า 67,884 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 5.5 โดย Enterprise Software มีมูลค่าสูงสุดคือ 58,071 ล้านบาท ขยายตัวจากปี 2553 ร้อยละ 3.6 รองลงมา ได้แก่ Mobile Application มีมูลค่า 3,720 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 21.2 และ Embedded System Software มีมูลค่า 3,423 ล้านบาท ร้อยละ 24.0



อ้างอิง http://www.nsiim.sipa.or.th/nsiim/g-mkosw09.do
http://neung.kaengkhoi.ac.th/information1/techno1_2.html
http://mba2010.wikidot.com/scribe-book-2-part-2

2553-09-04

ท่านต้องการที่จะเรียนในระบบ e-learning หรือไม่ เพราะเหตุใด

ต้องการในเวลานอกเหนือจากการเรียนปกติ(คือ เรียนเสริม)

เนื่องจากสะดวก รวดเร็วในด้านข้อมูล การสืบค้น สามารถเรียนรู้ซ้ำได้หากยังไม่เข้าใจชัดเจน และยังประหยัดเวลา รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่ำอีกด้วย

สถาบันการศึกษาได้ประโยชน์อะไรจากการใช้ระบบ e-learning

  • ค่าใช่จ่ายต่ำ
  • ไม่จำเป็นต้องยุ่งยากในการจัดการตารางเวลาเรียน และสอน
  • สะดวกในการวัดผล
  • ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยง่ายขึ้น
  • ข้อมูลไม่สูญหาย ทางสถาบันสามารถเก็บไว้ได้

ท่านคิดว่า การเรียนแบบ virtual classroom หรือ e-learning มีข้อดีข้อเสีย อะไรบ้าง

ข้อดี
  1. ทำให้ไม่เสียเวลาในการเดินทาง
  2. สะดวก รวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร และการหาข้อมูลเกี่ยวกับการเรียน
  3. ไม่มีการจำกัดระยะทางอีกต่อไป เช่น อยู่คนละจังหวัด กับอาจารย์ผู้สอน ก็สามารถที่จะเข้าเรียนได้ เนื่องจากปัจจุบันมีเทคโนโลยีสนับสนุนมากมาย
  4. สนับสนุนในระบบ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
  5. สามารถแก้ไขข้อมูลได้ง่าย เนื่องจากมีการจัดเก็บไว้เป็นระบบ
  6. ทำให้ผู้เรียนกล้าที่จะออกความคิดเห็น และสอบถามคำถามที่สงสัยมากขึ้น
ข้อเสีย
  1. ต้องระมัดระวังเกี่ยวกับเวลา ถ้าเป็นการสอนแบบออนไลน์  ไม่บันทึกวีดีโอ ซึ่งบางครั้งเวลาของผู้เรียนกับผู้สอนอาจจะไม่ตรงกัน เช่น อยู่ต่างประเทศเวลาจะไม่ตรงกับเมืองไทย เป็นต้น
  2. ไม่มีส่วนร่วมกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน เนื่องจากไม่มีปฎิสัมพันธ์กัน
  3. ต้องมีความรู้ในเทคโนโลยีในระดับหนึ่ง
  4. ผู้เรียนต้องเป็นผู้ที่กระตือรือร้นที่จะศึกษาด้วยตนเอง มิฉะนั้นอาจจะไม่สามารถเรียนได้จนจบ

ในมุมมองของธุรกิจนั้น การสร้างระบบสารสนเทศควรคำนึงถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ [Management Information Systems (MIS)]




เป็นระบบเกี่ยวกับการจัดหาคนหรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขององค์การ เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้าง เจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การ การประมวลผลของข้อมูลจะช่วยแบ่งภาระการทำงานและยังสามารถนำสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือ MIS เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ หรือ MIS หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล และการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม นอกจากนั้นยังช่วยผู้บริหารและพนักงานในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่



โดย MIS จะต้องใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ (Hardware) โปรแกรม (Software) ร่วมกับผู้ใช้ (People ware) และข้อมูล เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์และมีขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่ดี ซึ่งนี่เป็นองค์ประกอบในการสร้างระบบสารสนเทศที่ควรคำนึงถึง



ดังนั้นการศึกษาระบบสารสนเทศจึงมีเนื้อหาที่กว้างกว่า การศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์โดยตรง ทั้งนี้เนื่องจากว่าเนื้อหาของการจัดการระบบสารสนเทศที่ครอบคลุมถึง

(1) ศาสตร์และศิลปะในการจัดการและการตัดสินใจ

(2) ศึกษาจิตวิทยาและพฤติกรรมของการแสดงออก ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวของระบบสารสนเทศ

(3) ศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม (Environment) และการผลักดันทางด้านเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดโอกาสในการใช้ข้อมูลเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

(4) ศึกษาวิธีการสร้างระบบสารสนเทศ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems) ในทางธุรกิจ ประวัติ และวิวัฒนาการของระบบสารสนเทศ



การจัดโครงสร้างของสารสนเทศโดยแบ่งตามลำดับการนำไปใช้งาน สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้

1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผน นโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง (Top management)

2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัติ และการตัดสินใจในผู้บริหารระดับกลาง (Middle management)

3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการใจระดับปฏิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่าง (Bottom management) จะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน

4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล ในขั้นตอนนี้พนักงานจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูล และป้อนข้อมูลเข้าสู่กระบวนการประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศออกมานำเสนอต่อผู้บริหาร



เป้าหมายของสารสนเทศในองค์การมักจะคำนึงถึง

(1) การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

(2) การเพิ่มผลผลิต

(3) การเพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้า

(4) ผลิตสินค้าใหม่และขยายผลิตภัณฑ์

(5) สามารถสร้างทางเลือกในการแข่งขัน

(6) สร้างโอกาสทางธุรกิจ